วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานวิจัยพฤติกรรมระดับโมเลกุล

การค้นคว้า เพื่อทําความเข้าใจว่า เหตุใด มนุษย์เราจึง มีความอยากได้ส่วนบุคคลแฝงอยู่ในจิตสำนึกจนเกินความพอดี . การค้นพบครั้งล่าสุดของ ลอร์ดวัคซีน ในมหาวิทยาลัยความฝันแห่งกรุงเพ้อเจ้อนั้นก็ยังเป็นเพียงผลงานวิจัยคล่าวๆทางวิทยาศาสตร์การคาดเดาชิ้นหนึ่ง ที่พยายามจะชี้ให้เห็นว่า ชีววิทยาหรือพันธุศาสตร์ กับความเป็นคนงกอยากได้อยากมีนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างลับๆ


หลังจากการเฝ้าจับตาดูพฤติกรรมของบุคคลกลุ่มหนึ่งอย่างสอดรู้สอดเห็นก็ได้พบว่าพฤติกรรมของผู้คนเหล่านี้ เมื่อเห็นอะไรที่ดูสวยงามตระการตาเขาจะมีความรู้สึกเหมือนถูกอำนาจเวทมนต์บางอย่างเข้ามาสิงสถิตจนทำให้เกิดอากัปกิริยาที่อยู่เหนือปริมลลการควบคุมตนเองให้เป็นปกติได้ โดยทางวิทยาศาสตร์การคาดเดาจะเรียกอาการเหล่านี้ว่าเป็นการลืมตัวชั่วขณะจนไปถึงขั้นไม่รู้จักประมาณตนจะส่งผลทำให้เกิดอาการที่คิดไปเองว่าตนเป็นผู้เป็นร่ำรวยต้องเอาของเหล่านั้นมาครอบครองให้ได้หรือไม่ก็ต้องทำสัญญาแสดงตนเป็นเจ้าของโดยฉับพลัน ประหนึ่งว่าสิ่งเหล่านั้นเคยเป็นของตนมาตั้งแต่ชาติปางก่อนที่ยังตามมาหลอกหลอนให้เห็นในมโนสำนึกถึงในชาตินี้.


ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา(ไม่รู้เหมือนกันว่ากี่ปี) แม้ว่างานวิจัยในห้องปฏิบัติการก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคลนั้นจะถือว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็ยังมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า มีปัจจัยทางสังคมวิทยาบางอย่าง ที่เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของผู้คนเหล่านี้ แม้ว่าจะยังไม่อาจสรุปได้ว่า ปัจจัยดังกล่าวนั้นคืออะไรมีต้นสายปลายเหตุเริ่มมาจากสิ่งไหนแน่เพราะยังเป็นเรื่องถกเถียงกันจนบางครั้งก็ถึงขั้นไม่ลงรอยตีหัวกันเองมาก็นักต่อนักแล้ว เพราะพฤติกรรมดังกล่าวมีที่มาจากหลายกระแสมาก ไม่ว่าจะเป็นกระแสจากสังคมไฮโซ สื่อ อินเตอร์เน็ท และ/หรือจากการที่ได้เกิดมาเป็นผู้โชคดีผุดออกมามีชีวิตอยู่ในยุคที่ผู้คนบ้าคลั่งการทำตัวให้ทันกระแสวิ่งไล่กวดคำว่าทันสมัยซึ่งก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีการถกเถียงกันในแต่ละครั้งจนกินเวลาไปยาวนาน(และแล้วก็ยังไม่เกิดผลอันใด)


. อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มก็ยังมีความเห็นที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก ไม่ว่าจะใน สังคมวิทยาศาสตร์คาดเดาเอง หรือ กระทั่งสังคมชาวบริโภคนิยมเองก็ดี ว่าจะนําเอาองความรู้ที่ได้จากการสอดรู้สอดเห็นเรื่องชาวบ้านดังกล่าวนี้ ไปใช้ประโยชน์อย่างไรและผลกระทบที่อาจจะตามมา มีอะไรบ้าง และใคร จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากมีสังคมคนรวยที่แท้จริงเข้ามาตั้งคำถามย้อนกลับว่า “เมิงจะทํางานวิจัยดังกล่าวขึ้นมาทําไมกูมีเงินพอใจหาความสุขให้ตนเองเมิงจะมายุ่งอะไรกับกูหรือว่าอิจฉา” (ห๊า!!เจ็บตับโดนสวนกลับถูกความรู้สึกที่แท้จริง..เหวอแดกเล็กน้อย)


ยังไม่เข็ดทำมึนต่อ..งานวิจัยของลอร์ดวัคซีนยังค้นพบอีกว่าขนาดของความอยากได้ของแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกัน เปรียบเทียบโดยใช้สูตร 1vs1live=ความอยากไม่มีสิ้นสุดขึ้นอยู่กับว่าไปพบเจอกับสิ่งใดในขณะนั้น พร้อมด้วย ผู้ร่วมงานที่มหาวิทยาลัยของเธอ และ นักวิจัยแห่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ขาดสติในกรุงที่มีคนอยู่น้อย ได้ทำการพิเคราะห์ สมองของ คนที่เป็นคนจน 100 คน และ คนรวยมาแต่กำเกิด200คน *อนึ่งที่คนรวยมากกว่าเพื่อจะพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าจริงแล้วคนรวยไม่งกจริงหรอ* และก็ได้พบว่า คอคอดของสมองที่เป็นรอยต่อเข้าไปในบ่อของความอยากได้ในสมองของคนที่เป็นคนจน มีความกว้างและหนากว่า คนรวย ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้น สมองคนที่เป็นคนรวยบางคน ก็มี คอคอดที่หนาและลึกกว่า คนที่เป็นคนจนกว่าหลายเท่านัก(โอ้!มายก็อดคนรวยก็งกขั้นเทพ)


สําหรับแนวความคิดที่ว่า ปัจจัยทางด้านของการเป็นคนมีฐานะ จะไม่ได้มีบทบาทในการกําหนดพฤติกรรมความงกนั้น ลอร์ดวัคซีนได้กล่าวในการประชุมประจําปี ของสมาคมประสานจิตวิทยา (Society for hart) ที่หาดไม่เคยมี รัฐฮานาก้า ว่า "แน่นอน เราไม่ได้หมายความว่า สิ่งแวดล้อมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง [ต่อการกําหนดพฤติกรรม] แต่เราหมายความว่า สิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบาย เรื่องราวทั้งหมดได้" ( แปลไทยเป็นไทย แบบเข้าใจง่ายๆ ได้ว่า : สิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นของคนจนหรือคนรวยมีผลต่อพวกเขาแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น ) *ทำเสียงสูงใส่จริตจกร้านแต่พองาม*

....อย่างไรก็ตาม เราก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าขนาดความลึกบางของสมองที่แตกต่างกันนั้นจะเข้ามาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ชาติล่มจม หรือว่า เป็นผลลัพธ์ที่มาจากสิ่งอื่นที่บงการอยู่นอกประเทศกันแน่ "มันก็ยังเป็นปัญหาที่ต้องหาคำตอบกันต่อไปส่วนคำตอบที่จะได้นั้นคงต้องคาดเดากันเอาเองธรรมชาติไม่สามารถเปิดเผยความจริงที่แน่นอนได้...ทุกอย่างล้วนเป็นปรัชญา"....

ไม่มีความคิดเห็น: