วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เสรีภาพที่คนไทยพึงมี

    สังคมไทยในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าผู้คนจำนวนมากที่ยอมปล่อยตัวเองให้เป็นไปตามการชี้นำของผู้อื่น ทำตามอำนาจสั่งการของบุคคลอื่นหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยไม่เคยตระหนักในตนเองเลยว่า นั่นคือการสูญเสียคุณค่าแห่งการเป็นมนุษย์ของตนเองไปจนเกือบสิ้นแล้ว เรามักได้ยินการเรียกร้อง ปลุกระดม ออกคำสั่งให้มีการประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณี รวมถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยกันอยู่เสมอๆและเราก็ทำตามๆกันมาเสมอเป็นเวลาช้านาน

    เราไม่เคยได้รับการสนับสนุนให้มีการตรวจสอบความเป็นมาของสังคมเราเลยว่าสิ่งที่เราต้องประพฤติปฏิบัติตามนั้นมันจะยังคงใช้ได้กับเราและเป็นสิ่งที่จะถูกต้องดีงามกับเราไปจนตลอดกาลนานเลยหรือ เราไม่เคยได้รับการสั่งสอนให้เป็นคนใหม่ในสังคมเลย คนในเมืองไทยของเราจึงมักจะทำอะไรแบบเก่าๆซ้ำๆทำตามคนอื่นชี้นำให้อยู่เสมอๆ

     อาจเป็นเพราะคนไทยยังคงมีความเชื่อกับความกลัวและ/หรืออาจเป็นเพราะไม่เข้าใจในความหมายของคำว่าเสรีภาพย่างชัดเจนจริงๆ ผู้เขียนเลยอยากนำเอาความหมายเนื้อความ สารัตถะของคำว่าเสรีภาพในสาขาต่างๆมาให้อ่าน ซึ่งผู้เขียนเองคัดมาจากหนังสือปรัชญาหลายๆเล่มที่ผู้เขียนได้อ่าน โดยไม่ได้เจาะจงให้ทราบว่าเป็นของสำนักใดซึ่งผู้เขียนคิดว่ามันอาจจะเป็นการล่อแหลมทางความคิดเกินไปหากกระทำเช่นนั้น เพราะผู้เขียนตั้งใจจะสื่อสารและถ่ายทอดเนื้อความของคำว่า “เสรีภาพ”

      จริงๆแล้วความหมายของคำว่าเสรีภาพนั้นมีความอ่อนไหวอยู่ในตัวเอง การจะยึดถือการนิยามของสำนักใดๆนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะจากหนังสือปรัชญาหลายๆเล่มที่ผู้เขียนได้อ่านผู้รู้หรือนักปรัชญาหลายๆคนก็มีความขัดแย้งกันเองมีความเชื่อมั่นในความคิดของตนเองซึ่งผู้เขียนเองบางครั้งก็งงๆ แต่ก็เห็นด้วยในสิ่งที่หลายๆท่านได้นิยามไว้ซึ่งผู้เขียนก็จะคัดเลือกเอาส่วนที่เป็นกลางที่สุดมาให้อ่าน เพราะคิดว่าคงจะเป็นการดีที่สุดในการตัดสินใจครั้งนี้

     ลักษณะสำคัญในความหมายของ“คำว่าเสรีภาพ”นั้นแบ่งได้เป็น2ประการ

ประการแรกคือ: เสรีภาพที่ใช้ในความหมาย อิสระจากข้อผูกพันทุกอย่าง หรือมีอิสระภาพที่จะทำอะไรก็ได้

ประการที่สองคือ: มีความหมายไปในทางทำให้เกิดความพึงพอใจ(อิฏฐารมณ์)หรือเป็นไปตามความปราถนาแห่งตนเช่น พ้นคุก นักเรียนที่พ้นจากการบังคับให้ต้องไปโรงเรียน

      เสรีภาพในความหมายนี้ก็คือความสามารถที่จะพ้นจากความไม่พึงพอใจแต่ถ้าหากผู้ใดต้องว่างงานซึ่งเป็นสภาพที่ไม่พึงพอใจ ก็ไม่เรียกว่ามีเสรีภาพ (ชักงงแล้วใช่ไม๊)ปรัชญาก็อย่างนี้แหละถ้าไม่สงสัยไม่งงไม่เรียกว่าเป็นปรัชญา..เรามาไปกันต่อดีกว่า…

     ในทางปรัชญานั้นนักปรัชญาได้นิยามความหมายของเสรีภาพว่า เป็นการปราศจากการคัดค้าน ทั้งนี้เพราะการคัดค้านย่อมทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ ทำให้ความหวังของบุคคลไม่สามารถสำเร็จลุล่วงได้ การคัดค้านเป็นเหตุให้สิ่งที่มนุษย์พึงพอใจพลัดพรากจากมนุษย์ไป แต่โดยแท้จริงแล้วการคัดค้านมิใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป ถ้าหากการคัดค้านนั้นเป็นเรื่องของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดในสังคม

     นักปรัชญาหลายท่านเชื่อว่าเสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถละทิ้งความเป็นเสรีภาพของตนเองได้ มนุษย์ทุกคนเกิดมาเป็นเสรีภาพและเป็นไทแก่ตัวเอง ไม่มีใครอื่นจะบังอาจเป็นเจ้าของเขาได้โดยไม่ได้รับการยินยอม ไม่ว่าจะโดยกลวิธีใดๆ

     การจะกล่าวว่าลูกของทาสเกิดมาเป็นทาสก็เท่ากับว่าเขามิได้เกิดมาเป็นมนุษย์เลย ทั้งนี้เพราะการปฏิเสธเสรีภาพก็คือการปฏิเสธความเป็นมนุษย์ สิทธิในฐานะที่เป็นมนุษย์และหน้าที่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่มีอะไรที่จะเป็นสิ่งทดแทนให้เสมอได้...

    ในแนวทางการเมืองการเมือง ความหมายของเสรีภาพมีกล่าวถึงไว้เป็นแนวบวกและแนวลบ

ความหมายในแนวบวกคือ : บุคคลสามารถปกครองตัวเองได้ รัฐบาลเป็นของประชาชนไม่มีการจำกัดขอบเขตแก่ประชาชน รัฐบาลกระทำตามเจตนารมณ์ของประชาชน

ความหมายในแนวลบคือ : ประชาชนมีเสรีภาพได้ภายใต้อำนาจแห่งรัฐ รัฐไม่อาจมาย่ำยีประชาชน และไม่บังคับประชาชนให้เป็นไปตามใจชอบ แต่จำเป็นต้องวางแนวทางไว้ปฏิบัติร่วมกัน

      ในด้านศาสนา แนวความคิดด้านเสรีนิยมจะปรากฎออกมาในรูปของการเลือกนับถือศาสนาตามใจปราถนา และมีความเชื่อว่า การอยู่ใกล้กับพระเจ้าไม่เป็นเหตุให้มนุษย์บรรลุการรู้แจ้งได้ แต่มนุษย์จะต้องรู้แจ้งได้โดยอาศัยการใช้เหตุผลของตนเองโดยผ่านประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การรู้แจ้งคือแจ้งถึงคุณธรรมในตัวมนุษย์ มิใช่การรู้สัจธรรมที่ได้รับจากพระเจ้า

     ทางด้านเศรษฐกิจนั้น เสรีภาพคือการยอมรับว่าบุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ โดยถือว่ากิจกรรมของสังคมสามารถประสานกลมกลืนกันได้โดยปล่อยให้แต่ละบุคคลดำเนินการเพื่อผลประโยช์ส่วนตัวของตน บุคคลแต่ละคนมีธรรมชาติที่จะยกระดับตนเองเพื่อบรรลุถึงความต้องการตามธรรมชาติของตน

     ถ้าปล่อยให้มนุษย์กระทำตามธรรมชาติ ผลพลอยได้ก็คือ สังคมโดยส่วนรวมจะเจริญขึ้น เพราะสิ่งที่มนุษย์เลือกให้ตนย่อมเป็นสิ่งที่ดีต่อบุคคลอื่นด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งที่มนุษย์เลือกให้ตนเองนั้นย่อมไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม “ไม่มีอะไรดีสำหรับตัวของผู้เลือกถ้าหากว่าไม่ดีสำหรับผู้อื่น”

      ดังนั้นรัฐจึงไม่ควรเข้าไปควบคุมกิจกรรมของปัจเจกบุคคล รัฐควรปล่อยให้บุคคลแต่ละคนได้ใช้พลังสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้เพราะมนุษย์จะถูกชักนำให้กระทำกิจกรรมอันมีผลดีแก่สังคมส่วนรวมโดยไม่ตั้งใจ....

“ลักษณะโดยทั่วไปของแนวความคิดด้านเสรีภาพก็คือส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีอิสระในการใช้ชีวิต กระตุ้นให้คนมีการพัฒนาเสริมสร้างความคิดความสามารถของตนเอง เพราะมนุษย์ย่อมมีตนเองเป็นสิ่งสำคัญ”

....ผู้เขียนหวังว่าบทความที่ได้คัดสรรค์มาให้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับสภาพของสังคมไทยเราที่กำลังวุ่นวายยุ่งเหยิงเพราะคนหลงลืมในสิทธิเสรีภาพแห่งตน....  



                                                                                                        .....วัคซีน……

3 ความคิดเห็น:

vaczeen กล่าวว่า...

เเล้ว"เสรีภาพ"ในการเเสดงออกทางศิลปะที่มีการเผยเเพร่ออกสู่ผู้ชมในวงกว้าง ถ้ามีคำว่าเสรีภาพของผู้สร้างงานศิลปะมากเกินไปโดยไม่สนใจใดๆมันจะเป็นเสรีภาพของศิลปินที่สูงเกินไปสำหรับผู้ชมคนธรรมดาอย่างเราๆหรือเปล่า มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ

vaczeen

Noraset Vaisayakul กล่าวว่า...

Art should not have limit in expression. But Artists have to be responsibility to their own messages they express on their art works in any case....

วัคซีน กล่าวว่า...

จิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และแยกแยะศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวเองได้หรือ?ศิลปะคือการทำให้ง่ายแต่แปลกใหม่ เน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ หรือแค่โชว์รายละเอียดเพื่อรองรับคำวิจารณ์ ??